วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทุ่งดอกกระเจียว

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

เมื่อถึงเวลาเริ่มต้นแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุในแต่ละปีจะมาถึงนั้น จะเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มต้น ของชีวิตอันงดงามไปด้วยสีสันของดอกไม้ในตระกูล Curcuma ชื่อ C. parviflora wall ที่เมื่อเหง้าซึ่งหลับ ไหลอยู่ใต้ดิน ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นด้วยสายฝนแห่งการเริ่ม ต้นพรรษา พืชชนิดนี้ก็จะแทงใบสีเขียวขึ้นเหนือพื้นสัก 3-4 ใบ ก่อนจะส่งช่อดอกสีเขียวไล่โทนหาชมพูสดอวด ความงามตามออกมานั่นคือ "ดอกกระเจียว"  ทุก ๆ ปี ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนสิงหาคม บรรดานักท่องเที่ยวและคนรักดอกไม้และนักถ่ายภาพ จากทั่วประเทศ จะเดินทางไปรวมตัวกันที่ทุ่งดอกกระเจียวเพื่อชมความงามของดอกกระเจียวสีชมพูอมม่วงตัดใบสี เขียวและสัมผัสไอหมอกแห่งวสันต์ท่ามกลางปฏิมากรรมทางธรรมชาติของหินล้านปีรูปร่างต่าง ๆ ที่สวยงาม
  

อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต ตั้งอยู่บนรอยต่อ 3 แบบคือ แบบแรกตั้งอยู่บนรอยต่อของ จังหวัดชัยภูมิ และ จังหวัดลพบุรี แบบที่สองตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นดินที่ราบสูงกับที่ราบลุ่มและแบบที่สามตั้งอยู่บนรอยต่อของภาค กลางกับภาคอีสาน คือเทือกเขาพังเหย ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตอันชัดเจนของภาคกลางกับภาคอีสาน มีพื้นที่ 112 ตร.กม. หรือประมาณ 70,000 ไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2537 เป็นต้นมา สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรังหรือป่าโคกและหญ้าเพ็ก มีป่าหินรูปร่างแปลก ๆ กระจายอยู่ตามทุ่งหญ้าเป็นบริเวณกว้างกว่า 1,000 ไร่ มีต้นไม้เล็กใหญ่และกล้วยไม้ต่าง ๆ ขึ้นเต็ม ในช่วงฤดูฝนระห่วางเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม มีดอกกระเจียวขึ้นอยู่เต็มบริเวณ ส่วนฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม - มกราคม มีดอกกล้วยไม้ป่าสีเหลืองขึ้นตามซอกหิน นอกจากนี้บริเวณเหนือสุดของแนวป่าหินงามและทุ่งดอกกระเจียว ยังมีหน้าผาสูงชัน ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 846 เมตร เรียกว่า "สุดแผ่นดินของที่ราบสูง"



เครดิต โดย  http://www.rd.go.th/chaiyaphum/91.0.html#pahinngam

มอหินขาว

มอหินขาว


มอหินขาว เป็นปรากฏการณ์หินรูปทรงแปลกๆ อยู่บน เทือกภูแลนคา ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยว Unseen แห่งใหม่ของจังหวัดชัยภูมิ ที่อยากแนะนำให้ได้รู้จักแวะเวียนเที่ยวชม เป็นสถานที่ที่มีความสวยงามและ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองชัยภูมิมากนัก มอหินขาว แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณ สำนักสงฆ์หินขาว บ้านวังคำแคน หมู่ที่ 5 ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมืองชัยภูมิ อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ ประมาณ 60 กิโลเมตร ตามถนนสายชัยภูมิ - น้ำตกตาดโตน - ท่าหินโงม ถึงสามแยกทางไปบ้านแจ้งเจริญ เลี้ยวซ้ายเข้าไปถึงทางโค้งบ้านวังน้ำเขียว - บ้านวังคำแคน ประมาณ 9 กิโลเมตร จะถึงบริเวณที่ตั้งของหินขนาดใหญ่ จำนวนหลายแท่งและกลุ่มหินอีกจำนวนมาก ขนาดลดหลั่นกันใหญ่บ้างเล็กบ้าง ขึ้นอยู่ประปรายในพื้นที่เทือกเขา "ภูแลนคา"
มอหินขาว อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 600 เมตร ทิศเหนือติดกับเขตอำเภอหนองบัวแดงและ อำเภอ เกษตรสมบูรณ์ สามารถมองเห็นอ่างเก็บน้ำลำประทาวที่อยู่ไกลลิบ ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสภาพอากาศ แบบธรรมชาติ มองไกลออกไปมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีลมพัดเย็นสบายตลอดทั้งวัน ลักษณะของหินแต่ละแท่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาตินี้ มีขนาดใหญ่มหึมา แต่ละแท่งมีความกว้างประมาณ 4 - 5 เมตร สูงประมาณ 15 - 20 เมตร และตั้งเรียงรายกันเป็นแถว แท่งหินแต่ละแท่งมีรูปร่างสูงโปร่งแตกต่างกันออกไป มีสีขาว ความโดดเด่นของหิน ที่ธรรมชาติได้สรรสร้างตกแต่งได้อย่างน่าอัศจรรย์นี้ อาจเรียกได้ว่า เป็นแกรนแคนยอนของเมืองไทยอีกแห่งหนึ่ง หรือ แกรนแคนยอนของเมืองชัยภูมิก็ว่าได้ ในปี 2548 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงเส้นทางสำหรับเดินทางไปท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดชัยภูมิแห่งนี้ เพื่อให้มี สภาพที่สามารถเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปได้ไปเที่ยวชมกัน
เครดิต โดย  http://www.rd.go.th/chaiyaphum/91.0.html#pahinngam

ตาดโตน

อุทยานแห่งชาติตาดโตน
อุทยานแห่งชาติตาดโตน เดิมเป็นบริเวณป่าสงวนแห่ง ชาติภูแลนคา ได้ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2523 มีอาณาบริเวณครอบคลุมเนื้อที่ 135,738 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบสูงโดยมีเทือกเขาล้อมรอบที่ราบเอาไว้ ตอนกลางเป็นหุบเขากว้างใหญ่ เทือกเขาที่ล้อมรอบนี้ประกอบด้วยยอดเขาสูง ได้แก่ ภูเกษตร ภูคี ภูหยวก ภูโค้ง ภูอีเฒ่า เป็นต้น


ยอดเขาที่ สูงที่สุดคือ ภูคีสูงประมาณ 1,035 เมตร ยอดเขาสูงเหล่านี้เป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น ลำห้วยประทาว เป็นต้นกำเนิดของ น้ำตกตาดโตนซึ่งเป็นน้ำตกที่สูงใหญ่ และสวยงามแห่งหนึ่งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยลานหินกว้างใหญ่ ที่เรียกว่า ตาด มีความกว้างประมาณ 40 เมตร ความสูงของน้ำตก หรือที่ชาวภาคอีสานเรียกว่าโตน สูงประมาณ 6 เมตร และมีน้ำไหลตลอดปี อุทยานแห่งชาติตาดโตนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชม และพักค้างแรมที่เรือนรับรอง ที่ ทางอุทยานจัดไว้บริการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ใช้ฝึกอบรม สัมมนา ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน เป็นผลทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นมีรายได้จากการนำสินค้า และอาหารพื้นเมืองไปจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว




เครดิต โดย http://www.rd.go.th/chaiyaphum/91.0.html#pahinngam