วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติภูแลนคา



อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   ตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ   มีเนื้อที่โดยประมาณ 92,500 ไร่   เป็นสภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฏหมาย และป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม พ.ศ.2535  และที่สำคัญเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร  ป่าสมบูรณ์ ป่าฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า รวมทั้งเป็นป่าที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัด ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัด องค์กรสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันอกเฉียงเหนือ  องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลที่เกี่ยวข้อง  ให้การเห็นชอบและสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูแลนคา  โดยอย่างยิ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำและลำห้วยต่างๆ ที่ไหลรวมกันเป็นลุ่มน้ำและไหลกันเป็นแม่น้ำชี เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูแลนคาด้านทิศเหนือและป่าภูแลนคาด้านทิศใต้
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายที่ด้วยกันในอดีต เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร (ประวัติทางการสู้รบ) และประวัติศาสตร์ของศาลปู่ด้วง (บุคคลทรงศีล) จุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ตาดหินลาด
ตาดโตนน้อย ภูคำน้อย ภูกลาง ภูดี ผาเกิ้ง ผาเพ ผากล้วยไม้ ถ้ำเกลือ ถ้ำพระ แม่น้ำชี ลาดหินแตก เทพบูชา ประตูโขลง ทุ่งดอกกระเจียว
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   เหมาะสมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวตลอดทั้งปี
ลักษณะภูมิประเทศ
โดยทั่วไปพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาภูแลนคา   ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับซับซ้อน   เป็นพื้นที่ลาดชันสูง   เป็นพื้นที่ลาดเอียง   เป็นพื้นที่หน้าผาสูงสลับหุบเขา และเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่ก่อกำเนิดลุ่มน้ำต่างๆ เช่น  ลุ่มน้ำชีล่างลุ่มน้ำห้วยสิ่ว   ลุ่มน้ำห้วยซับปีเส็ง   ลุ่มน้ำห้วยหินดาด   ลุ่มน้ำห้วยเดื่อ ฯลฯ  สูงจากระดับน้ำทะเล  300 - 900 เมตร   สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ มีความลาดชันตั้งแต่ 35% ขึ้นไป  มีอาณาเขตติดต่อกับ
     ทิศเหนือ                  จด   พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) 
     ทิศใต้                     จด   พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.)
     ทิศตะวันออก             จด   ลำห้วยกุดทิวหรือห้วยช้างซ่อม
     ทิศตะวันตก               จด   แม่น้ำลี และพื้นที่ชลประทาน   ท้องที่ตำบลภูแลนคา
การเดินทาง
เส้นทางคมนาคม (ถนน) ระยะทางจากจังหวัดชัยภูมิ   ถึงอำเภอหนองบัวแดง  26  กิโลเมตร และระยะทางจากอำเภอหนองบัวแดง      ถึง สำนักงานอุทยานแห่งชาติภูแลนคา  17 กิโลเมตร   สภาพถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา   มีสถานที่ให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักแรมได้กางเต้นท์ จำนวน  5  แห่ง พักได้ทั้งหมด 50 คน พร้อมสวัสดิการต่างๆของอุทยานฯ  สนใจติดต่อโดยตรงที่งานบริการบ้านพัก     ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย  ส่วนอุทยานแห่งชาติ   สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ   กรมป่าไม้  กรุงเทพฯ โทร.5797223 , 5795734 หรือโทร.5614292-4 ต่อ 724 , 725

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น